“ช้าง ช้าง ช้าง น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า ช้างมันตัวโตไม่เบา จมูกยาว ๆ เรียกว่างวง มีเขี้ยวใต้งวงเรียกว่าง่า มีหู มีตา หางยาว~~”
เชื่อว่าเนื้อร้องข้างต้นคงเป็นสิ่งที่คนไทยเกือบทุกคนจะต้องคุ้นเคยเป็นอย่างดี เรียกได้ว่าอาจเป็นหนึ่งในเพลงแรก ๆ ในชีวิตที่คนไทยจะร้องกันได้เลยทีเดียวคำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง
แต่จากเพลงที่มีการพูดถึงอวัยวะต่าง ๆ ของช้าง สำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้ว สิ่งที่เป็นปริศนาที่สุดสำหรับพวกเขาคือ “งวง”
สั่งตั้งศูนย์บัญชาการระดับพื้นที่แก้ปัญหาช้างป่าบุกพื้นที่ทำกิน
“น้องเดือน” ลูกช้างป่าหลงโขลงตายแล้ว! สัตว์แพทย์ผ่าพิสูจน์หาสาเหตุ
ลูกข้าใครอย่าแตะ ฝูงช้างป่ารุมเหยียบรถยนต์ หลังขับไปชนลูกช้างในฝูง
ในแวดวงวิทยาศาสตร์ งวงช้างถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางชีววิทยาวิวัฒนาการ พวกมันมีความยาวได้มากกว่า 2 เมตร และมีกล้ามเนื้อและเส้นใยประสาทมากกว่า 40,000 เส้น สามารถยกของหนักได้มากกว่า 270 กิโลกรัม แต่ขณะเดียวกันก็สามารถหยิบถั่วเล็ก ๆ ทีละเม็ดได้ ต่างจากงวงของสมเสร็จที่สั้นและไม่แข็งแรง
ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักว่า งวงช้างพัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร และการทำความเข้าใจเป็นเรื่องที่ท้าทายมาโดยตลอด เนื่องจากงวงช้างเป็นกล้ามเนื้อและผิวหนัง ไม่สามารถกลายเป็นฟอสซิลได้ ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะค้นหาหลักฐานโดยตรงเกี่ยวกับงวงช้าง
แต่การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนในวารสาร eLife เผยให้เห็นว่า เรื่องของแหล่งอาหารและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป อาจอยู่เบื้องหลังการเกิดอวัยวะสุดมหัศจรรย์นี้
ในการศึกษาครั้งใหม่นี้ นักวิจัยได้เปรียบเทียบตระกูลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายช้าง 3 กลุ่มที่เคยอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของจีนเมื่อประมาณ 11 ถึง 20 ล้านปีก่อน โดยตรวจสอบว่าสรีรวิทยาของสัตว์เหล่านี้แตกต่างกันอย่างไร และเปรียบเทียบอาหารและระบบนิเวศของพวกมัน
สัตว์คล้ายช้างทั้ง 3 กลุ่มประกอบด้วย Amebelodontidae, Choerolophodontidae และ Gomphotheriidae ซึ่งทั้งหมดสืบเชื้อสายมาจาก Gomphotheres ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของช้างในปัจจุบัน
หลี่ ชุนเซียว หลี่ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสถาบันวิทยาศาสตร์จีน หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโบราณเหล่านี้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากพวกมันล้วนมีขากรรไกรล่างที่ยาว แต่ก็แตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำไปอนุมานต่อได้ว่า ส่งผลต่อวิวัฒนาการของวงอย่างไร
ทีมวิจัยได้วิเคราะห์ฟันของช้างยุคแรกทั้งสามประเภทนี้เพื่อรวบรวมเบาะแสใหม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินอาหารและสภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่
พวกเขาพบว่า Choerolphontidae ดูเหมือนจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างปิด เช่น ป่า ในขณะที่ Amebelodontidae มีที่อยู่อาศัยที่เปิดกว้างมากกว่า เช่น ทุ่งหญ้า และ Gomphotheriida ดูเหมือนจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นกึ่งป่ากึ่งทุ่งหญ้า
นักวิทยาศาสตร์ได้รวมการค้นพบเหล่านี้เข้ากับการจำลองทางคณิตศาสตร์ที่จำลองการเคลื่อนไหวของกรามสัตว์ทั้งสามสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
ผลการศึกษาพบว่า Choerolphontidae อาศัยอยู่ในป่าทึบ จึงมีพืชหลายชนิดที่มีกิ่งก้านสาขาแผ่ขยายในแนวนอน ปากของพวกมันจึงได้รับการพัฒนาให้เหมาะสำหรับการออกแรงกดในทิศทางขึ้นและลง
อย่างไรก็ตาม ปากของทั้ง Gomphotheriida และ Amebelodontidae ซึ่งอาศัยในแหล่งที่อยู่ซึ่งเปิดกว้างกว่า ได้รับการปรับให้เหมาะกับการกินพืชที่เติบโตในแนวตั้ง เช่น สมุนไพรและหญ้าที่มีก้านอ่อน
การที่อาหารเป็นพืชแนวตั้ง ไม่มีกิ่งก้านแนวนอนขนานกับพื้น ทำให้เป็นเรื่องยากที่สัตว์ตัวใหญ่ที่มีกรามล่างยาวอย่างพวกมันจะกินได้ เพราะจะตะแคงหัวกินก็ลำบาก จะกินทั้งแนวตั้งเลยก็ไม่สะดวก จึงต้องพัฒนางวงที่สามารถขดตัวหรือหยิบจับอาหารได้ขึ้นมา
หลี่กล่าวว่า “เรารู้ว่าสภาพแวดล้อมในยุคดึกดำบรรพ์ทั้งหมดเปลี่ยนไปแล้ว จากที่อบอุ่นและชื้นก็เปลี่ยนไปเป็นสภาพแวดล้อมที่เย็นกว่า แห้งกว่า และเปิดกว้าง นั่นอาจทำให้ช้างยุคแรก ๆ เหล่านี้เริ่มใช้งวงยาว ๆ เพื่อจับหญ้าเข้าปากมากขึ้น”
การต้องแทะเล็มหญ้าในที่อยู่อาศัยแบบเปิดอาจส่งเสริมวิวัฒนาการของงวงช้างที่เราเห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังให้เบาะแสว่า ทำไมสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าอย่างสมเสร็จ จึงมีงวงที่ค่อนข้างอ่อนแอเมื่อเทียบกับงวงของช้าง
เรียบเรียงจาก Live Science
ภาพจาก
TOMAS CUESTA / ECOPARQUE BA / AFP
ISHARA S. KODIKARA / AFP
งานวิจัย "Longer mandible or nose? Co-evolution of feeding organs in early elephantiforms"